สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด

โดย: A [IP: 58.8.81.xxx]
เมื่อ: 2022-08-04 22:28:37
สวัสดีครับ ผมได้จ่ายค่าจองและทำสัญญาเพื่อจะซื้อห้องชุด ต่อมาผมต้องผ่อนดาวน์ทั้งหมด 12 งวด ซึ่งผมผ่อนไปแล้วทั้งหมด 6 งวด ยังเหลือค้างอีก 6 งวด พอดีผมมีปัญหาเรื่องการเงินเลยคิดว่าไม่อยากดำเนินการต่อ เลยพยายามขายดาวน์ห้องที่จองไว้ แต่เกิดอุปสรรคที่ยังขายไม่ออก หากถึงกำหนดชำระงวดถัดไปผมตัดสินใจไม่ชำระ เพื่อทำให้ผิดสัญญาและถูกยกเลิกสัญญาจะได้ไหมครับ ผมกังวลเรื่องเบี้ยปรับ และการติด blacklist รวมถึงการโดนฟ้องร้องครับ เบื้องต้นสอบถามไปทางเซลล์ได้คำตอบว่าถ้าไม่ชำระตามเงื่อนไข ระบบจะยกเลิกสัญญาโดยอัตโนมัติ แต่ผมไม่แน่ใจเลยอยากถามคุณทนายหน่อยครับ ขอบคุณครับ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.216.xxx]
เมื่อ: 2022-08-05 08:16:34
สัญญาจะซื้อจะขาย

ตามที่เซลบอกล์นั้นถุกต้อง ถ้าไม่ส่งงวดตามสัญญาก็คงถูกบอกเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญา คู่สัญญาจะกลับสู่ฐานะเดิม คือผู้ขายต้องคืนเรื่องที่เคยส่งงวดไป ผู้ซื้อก็ไม่มีสามารถใช้สิทธิในการเป็นเจ้าของห้องอีกต่อไป....แต่เรื่องคงจะไม่ง่ายเช่นนั้น ผู้ขายอาจจะฟ้องร้อง อ้างว่าการผิดนัดทำให้เกิดความเสียหาย และเรียกร้องค่าเบี้ยปรับ ถ้ามีปัญหาเช่นนั้น ขอแนะนำให้ ขอความช่วยเหลือจาก สคบ. (1166) คงมีทางออกที่เหมาะสมได้...แนวคำพิพากษาเทียบเคียง...

คำพิพากษาฎีกาที่ 7175/2554

โจทก์ไม่ชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา โจทก์จึงเป็นผู้ผิดสัญญา การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสองและให้จำเลยทั้งสองคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว ส่วนจำเลยทั้งสองขอให้สิทธิรับเงินมัดจำตามข้อตกลงในสัญญา ถือได้ว่าเป็นการตกลงเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะมีข้อตกลงกัน ให้ถือเงินดาวน์เป็นเงินมัดจำ และหากโจทก์ผิดสัญญายอมให้ริบเงินมัดจำ แต่ได้ความว่าในวันทำสัญญาโจทก์ชำระเงินดาวน์ให้จำเลยทั้งสองเพียง 340,000 บาท เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้ให้แก่จำเลยทั้งสองในวันทำสัญญาเพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วนและเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาถือเป็นมัดจำ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ชำระในภายหลังอีก 1 งวด แม้ตามสัญญาจะระบุให้ถือเป็นมัดจำก็ไม่ใช่มัดจำตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 377 แต่เป็นเพียงการชำระค่าที่ดินบางส่วน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิริบมัดจำจำนวน 340,000 บาทได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378 (2) ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ชำระในภายหลังอีก 1 งวด ซึ่งถือเป็นการชำระราคาที่ดินบางส่วนนั้น จำเลยทั้งสองต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกันให้จำเลยทั้งสองริบเงินดาวน์ดังกล่าวได้หากโจทก์ผิดสัญญา ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ซึ่งหากเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจปรับลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,582